วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

กลไกการเกิดฝน
 การเกิดฝนเปนขั้นตอนหนึ่งของวัฏจักรน้้ำ (Water cycle) ดังแสดงในรูปที่ 1 เปนที่ทราบกันโดยทั่วไปวาน้ำเมื่อไดรับความร้อนก็จะระเหยเปลี่ยนสถานะภาพเปนก๊าซที่เรียกวาไอน้้ำลอยขึ้นสูบรรยากาศเมื่อไอน้ำกระทบกับความเย็นก็จะควบแนนจับตัวเปนกอนเมฆและเมื่ออนุภาคของไอน้ําจับตัวจนมีขนาดตางๆ กันในกอนเมฆ เมื่อมีขนาดใหญจนไมสามารถลอยตัวอยูในกอนเมฆไดก็จะตกมาเปนฝน และบางครั้งฝนก็ตกแผเปนบริเวณกว้างถึงร้อยๆ กิโลเมตรก็มีอยางไรก็ตามในขณะนี้ยังไมมีนักอุตุนิยมวิทยาคนใดเขาใจการกลไกเกิดของฝนไดอยางสมบูรณ์
รูปที่ 1 วัฏจักรน้ำ (Water cycle)
     
        ไอน้ำต้องการอนุภาคเล็กๆ ที่แขวนลอยอยูในอากาศเปน แกนควบแนน(condensation nuclei) แกนควบแนนเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ํา (Hygroscopic)ดังเชน ฝุน ควัน เกสรดอกไม
หรืออนุภาคเกลือ ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.0002 มิลลิเมตร หากปราศจากแกนควบแนนแล้วไอน้ำบริสุทธิ์ไมสามารถควบแนนเปนของเหลวไดถึงแมจะมีความชื้นสัมพัทธมากกวา 100% ก็ตาม
        ฝนที่ตกลงมายังพื้นดินไดนั้นจะต้องมีเมฆเกิดในทองฟากอน เมฆมีอยูหลายชนิดและมีบางชนิดเทานั้นที่มีฝนตก เราไดกลาวไวในเรื่องการเกิดของเมฆวาไอน้ําจะกลั่นตัวเปนเมฆ ก็ตอเมื่อมีแกนควบแนน (Condensation nuclei) อยูเปนจํานวนมากเพียงพอและไอน้ำจะเกาะตัวบนอนุภาคเหลานั้นรวมกันทําใหเห็นเปนเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเปนน้ําฝนไดก็ตองมีอนุภาคแข็งตัว (Freezingnuclei)หรือเม็ดน้ําขนาดใหญ ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัวกันจนเกิดเปนเม็ดฝน
       สภาวะของน้ําที่ตกลงมาจากทองฟานั้น อาจจะเปนลักษณะของฝนหิมะ ฝนละอองหรือลูกเห็บ ซึ่งเราเรียกสิ่งเหลานี้รวมวาเปน น้ําฟา (Precipitation) การที่น้ําฟาจะตกลงมาเปนฝนหรือหิมะนั้นขึ้นอยูกับอุณหภูมิของอากาศวารอนเย็นแคไหน ลักษณะของหิมะหรือผลึกน้ําแข็งเล็กๆ แตละอันจะมีรูปรางตางๆกัน แตมีลักษณะที่คลายกันอยูอยางหนึ่งคือ หิมะหรือผลึกน้ําแข็งสวนมากจะเปนรูปหกเหลี่ยมทั้งสิ้น ดแสดงในรูปที่ 2

                                                        รูปที่ 2 ผลึกน้ําแข็งรูปหกเหลี่ยม

            น้ําฟาตองเกิดจากเมฆ ถาไมมีเมฆจะไมมีน้ำฟ้าแตเมื่อมีเมฆก็ไมจําเปนจะตองมีน้ำฟาเสมอไป เพราะมีเมฆหลายชนิดที่ลอยอยูในทองฟาเฉยๆ ไมตกลงมาและมีบางชนิดเทานั้นที่ทําใหเกิดน้ําฟาได
            เราไดเคยกลาวไวกอนแลววาเมื่ออากาศเย็นลงไอน้ําในบรรยากาศจะเกิดการกลั่นตัว(Condensation) เปนเมฆหรือหมอก เมฆหรือหมอกคือเม็ดน้ําเล็กๆ ซึ่งมีไอน้ํารวมตัวกันเกาะอยูบนอนุภาคดูดน้ํา (hygroscopicparticles) เชน อนุภาคเกลือเปนตน เราเรียกอนุภาคชนิดนี้วาอนุภาคกลั่นตัว อนุภาคกลั่นตัวนี้มีในธรรมชาติและมีความสําคัญในการชวยใหไอน้ํากลั่นตัวเปนเมฆหรือหมอกงายขึ้น ถ้าไมมีอนุภาคกลั่นตัวไอน้ําจะเปลี่ยนเปนหมอกหรือเมฆไดยากมาก
           เราไดกลาวแลววา เมฆประกอบดวยเม็ดน้ําและเม็ดน้ําแข็งขนาดเล็กมากเมื่อขนาดยังไมโตพอ เม็ดน้ําและเม็ดน้ําแข็งจะลอยอยในบรรยากาศเนื่องจากมีกระแสลมพัดขึ้นตามแนวตั้งคอยตานปะทะไมให้ตกลงมาตามธรรมดาเส้นผาศูนยกลางของเม็ดเมฆจะมีคาประมาณ 0.01 ถึง 0.02 มิลลิเมตร หรือเทากับ 10 ถึง 20 ไมครอน (1,000ไมครอน = 1มิลลิเมตร) เม็ดเมฆขนาด 10 ไมครอนนี้จะไมตกลงมายังพื้นดิน ตอเมื่อเม็ดเมฆรวมกันโตจนมีเสนผาศูนยกลางถึง 1 มิลลิเมตร หรือ 1,000 ไมครอน หรือใหญกวานี้ มันจะตกลงมาจากเมฆ ตามธรรมดาแล้วเม็ดฝน 1 เม็ด เกิดมาจากเม็ดเมฆรวมกันมากกวา 1 ลานเม็ดในรูปที่ 3 เปรียบเทียบขนาดเม็ดฝนตางๆ ดังนั้นจึงมีปัญหาวา เม็ดเมฆจํานวนมากกวา 1 ลานเม็ดนั้นรวมกันเปนฝน 1 เม็ดไดอยางไร ความรูในกลไกการรวมตัวนี้ยังไมสามารถทราบอยางชัดเจน แตในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ไดตั้งทฤษฎีของการรวมตัว (Coalescence) ของเม็ดเมฆจนเกิดเปนฝนไว 2 กระบวนการใหญๆ คือกระบวนการการชนกันแล้วรวมตัวกัน(Collision-coalescence-process)และกระบวนการเบอร์เจอรอน (Bergeron process)
รูปที่ 3 เปรียบเทียบขนาดเม็ดเมฆ แบบธรรมดา เม็ดขนาดใหญ เม็ดฝนปรอยขนาดใหญและเม็ดฝนขนาดธรรมดา



     1 กระบวนการการชนกันแลวรวมตัวกัน (Collision-coalescence-process) การจับตัวรวมกัน (Capture process) หรือกระบวนการของฝนในเขตรอน (Warm rain process)  กระบวนการที่มีชื่อตางๆ กันทั้ง 3 อยางนี้เปนกระบวนการเดียวกัน ซึ่งมีสมมุติฐานวา ในกอนเมฆกอนหนึ่งจะมีเม็ดเมฆ (Clouddroplets) ขนาดตางๆ หลายขนาดเม็ดเมฆขนาดใหญมีการเคลื่อนที่เร็วกวาเม็ดเมฆขนาดเล็ก จึงเคลื่อนเขาชนเม็ดขนาดเล็กในทางเดินของมัน จะมีอัตราและทิศของการเคลื่อนตัวตางกับเม็ดเมฆขนาดเล็ก โดยเหตุนี้เม็ดขนาดใหญและเล็กจึงชนกันเกิดการรวมตัวใหมีขนาดใหญยิ่งขึ้น (Collision and coalescence) ดังแสดงในรูปที่ 4 พฤติการณนี้จะเกิดซ้ําๆ ตอเนื่องกันอยางรวดเร็วจนเกิดเม็ดน้ําใหญมาก
และเม็ดใหญๆ จะแตกแยกออกแลวเกิดกรรมวิธีซ้ําๆ กัน อีกจนเกิดเปนปฏิกิริยาลูกโซทําใหเกิดฝนมากไดกรรมวิธีนี้เปนกรรมวิธีของการเกิดฝนในเขตรอน ซึ่งเมฆมีอุณหภูมิสูงกวา 0 °C
รูปที่ 4 กระบวนการการชนกันแลวรวมตัวกัน (Collision-coalescence-process)


       2 กระบวนการเบอรเจอรอน (Bergeron process)เปนกระบวนการการเกิดฝน ในเขตที่มีอากาศหนาวเย็น เชน ในเขตละติจูดสูง หรือบนเทือกเขาสูงรูปแบบของการเกิดหยาดน้ําฟาจะแตกตางไปจากเขตรอน หยดน้ําบริสุทธิ์ในก้อนเมฆไมไดแข็งตัวที่อุณหภูมิ 0 °C หากแตแข็งตัวที่อุณหภูมิประมาณ -40°C เราเรียกน้ําในสถานะของเหลวที่อุณหภูมิต่ํากวา 0 °C นี้วา น้ําเย็นยิ่งยวดจะเปลี่ยนสถานะเปนของแข็งไดก็ตอเมื่อกระทบกับวัตถุของแข็งอย่างทันทีทันใดยกตัวอยาง เมื่อเครื่องบินเขาไปในเมฆชั้นสูงก็
จะเกิดน้ําแข็งเกาะที่ชายปกด้านหน้าการระเหิดกลับ(Deposition) เชนนี้จําเปนจะต้องอาศัยแกนซึ่งเรียกวาแกนน้ําแข็ง (Ice nuclei)เพื่อใหไอน้ําจับตัวเปนผลึกน้ําแข็ง ในกอนเมฆมีน้ําครบทั้งสามสถานะและมีแรงดันที่แตกตางกัน ไอน้ําระเหยจากละอองน้ําโดยรอบ แลวระเหิดกลับรวมตัวเขากับผลึกน้ําแข็งอีกทีหนึ่ง ทําใหผลึกน้ําแข็งมีขนาดใหญขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 5 เมื่อผลึกน้ําแข็งมีขนาดใหญและมีน้ําหนักมากพอที่จะชนะแรงพยุง (Updraft) มันจะตกลงมาดวยแรงโนมถวงของโลกและปะทะกบหยดน้ำเย็นยิ่งยวดซึ่งอยู่ด้านลาง ทําใหเกิดการเยือกแข็งและรวมตัวใหผลึกมีขนาดใหญยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนั้นผลึกอาจจะปะทะกันเองจนทําใหเกิดผลึกขนาดใหญที่เรียกวา เกล็ดหิมะ (Snow flake) ในเขตอากาศเย็น หิมะจะตกลงมาถึงพื้น แตในวันที่มีอากาศร้อน หิมะจะเปลี่ยนสถานะกลายเปน ฝน เสียกอนแล้วจึงตกถึงพื้น
รูปที่ 5 กระบวนการเบอรเจอรอน (Bergeron process)



คำถาม
1. แกนควบแนนเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นอย่างไร
ตอบ  เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ํา (Hygroscopic)
2. หากปราศจากแกนควบแนนแล้วไอน้ำบริสุทธิ์จะสามารถควบแน่นเป็นของเหลวได้หรือไม่
ตอบ ไมสามารถควบแนนเปนของเหลวไดถึงแมจะมีความชื้นสัมพัทธมากกวา 100% ก็ตาม
3. ถาไมมีเมฆจะไมมีน้ำฟ้าแตถ้ามีเมฆจำเปนต้องมีน้ำฟ้าหรือไม่
ตอบ  ไม่จำเป็นต้องมีน้ำฟ้าเสมอไป
4.น้ําที่ตกลงมาจากทองฟาอาจจะเปนลักษณะของฝนหิมะ ฝนละอองหรือลูกเห็บ สิ่งเหล่านี้เรียกรวมว่าอย่างไร
ตอบ น้ําฟา (Precipitation)
5. หยดน้ําบริสุทธิ์ในก้อนเมฆแข็งตัวที่อุณหภูมิเท่าใด
ตอบ แข็งตัวที่อุณหภูมิประมาณ -40°C
6. เราเรียกน้ําในสถานะของเหลวที่อุณหภูมิต่ํากวา 0 °C นี้วาอะไร
ตอบ น้ําเย็นยิ่งยวด
7. เราอาศัยแกนน้ำแข็งเพื่ออะไร
ตอบ  เพื่อใหไอน้ําจับตัวเปนผลึกน้ําแข็ง
8. การรวมตัวใหผลึกมีขนาดใหญ ผลึกอาจจะปะทะกันเองจนทําใหเกิดผลึกขนาดใหญเรียกวาอะไร
ตอบ  เกล็ดหิมะ (Snow flake)
9. หิมะจะตกลงมาถึงพื้น แตในวันที่มีอากาศร้อน หิมะจะเปลี่ยนสถานะกลายเปนอะไร
ตอบ ฝน 
10. เมฆจะกลั่นตัวเปนน้ําฝนไดก็ตองมีอนุภาคแข็งตัว (Freezingnuclei) ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัวกันจนเกิดเปนอะไร
ตอบ เม็ดฝน

อ้างอิง
สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯเลมที่ 4 การเกิดฝน โดย นาวาเอกเจริญ เจริญรัชตภาคย
โครงการเรียนรูเรื่องโลกและอวกาศ

http://202.129.59.73/wm/Water/water9/water9.pdf


นางสาวเพ็ญพร ปิ่นหิรัญกาญจน์ ม.5/3 เลขที่ 20

1 ความคิดเห็น:

  1. Download Free Spades Card Game Free - ITNCORE.COM
    Spades Card Game Free. titanium nail Spades Free - Download: Free Spades titanium rod Card Game is one of the most exciting free micro touch trimmer card game applications. titanium vs platinum It has an titanium trimmer as seen on tv exciting interface and

    ตอบลบ